ขึ้นหัวเรื่องว่า กาแฟ 3 ทวีป ไม่ใช่เบลนด์กาแฟใหม่อะไรแต่เป็นกาแฟที่มีชื่อเสียงจากแหล่งปลูกที่มีชื่อทั้ง 3 ทวีปคือ อเมริกาใต้, แอฟาริกา, เอเซีย กาแฟจากทั้ง 3 แหล่งก็จัดได้ว่าเก่าแก่และมีประวัติยาวนานอาจดูไม่เหมือนกาแฟที่มีชื่อยุคหลังๆ แต่ด้วยลักษณะเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใครหรือถ้าจะพูดให้ชัดขึ้นคือแตกต่างกันแทบจะสิ้นเชิงทีเดียวในแง่กลิ่นและรส แต่ใช่ว่าแต่และแหล่งจะไม่มีความโดดเด่นอย่างน้อยก็มีอยู่ประเทศหนึ่งที่ขายกาแฟเยอะเป็นอันดับหนึ่งมาตลอดและยังคงเป็นอันดับหนึ่งอีกนานนั่นคือประเทศบราซิล
กาแฟของที่นี่จะมีลักษณะที่แตกต่างไปที่อื่นตรงส่วนใหญ่เป็นกาแฟ natural process ( dry ) หรืออาจเป็นประเภท semi process ( honey ) บ้างกลิ่นรสของกาแฟบราซิลเป็นเช่นไรอาจตอบได้รวมว่า ช็อคโกแลต, นัท (ถั่วมากน้อยสุดแล้วแต่), สวีท
กาแฟบราซิลนั้นหากเป็นคอกาแฟรุ่นคลื่นที่ 3 หรือ 3ครึ่ง อาจไม่มีอะไรน่าสนใจเพราะบุคลิกที่เจอนั้นไม่ค่อยมี fruit&flowery ซึ่งบราซิลผมเคยได้ยินว่าก็มีการจัดแข่ง cup cf excellent แต่ยังคงไม่ค่อยได้รับความสนใจเท่าใดนัก แต่ที่นิยมคือเป็นส่วนผสมในเบลนด์และเป็นกาแฟที่มีบอดี้ที่ OK
มาถึงกาแฟอีกทวีปคือแอฟาริกาและกาแฟที่ว่าดังกล่าวคือ กาแฟเคนย่า ซึ่งคอกาแฟบ้านเราที่เริ่มเรียนรู้เรื่องกาแฟมักจะนิยมกาแฟของเคนย่า เพราะกาแฟเคนย่านั้นมันเรียกได้ว่า powerful acidity and fruit
กาแฟเคนย่าที่ดีจะสมบูรณ์ทั้งรูปร่างหน้าตาและรสชาติ
กาแฟเคนย่าเป็นกาแฟราคาค่อนข้างสูงมักจะแยกเกรดขาย ในรูปด้าบบนเป็น Kenya Peaberry (ซ้าย), Kenya AA (ขวา)
ผู้ที่พิสมัยรสเปรี้ยวผลไม้คงจะชื่นชอบ แต่กาแฟเคนย่ามีดีกว่านั้นตรงที่เป็นสายพันธุ์ SL28, SL34 ซึ่งก็เป็นสายพันธุ์ที่พัฒนามาจาก Bourbon การันตีคุณภาพอยู่แล้ว อยู่เพียงแต่ว่าจะทานในรูปแบบใดและรับรสจำพวก lemon, apricot ได้กันประมาณไหนรวมไปถึงขนาดของรสช็อทที่ทำให้เราดื่มได้อย่างมีความสุข
มาถึงตัวสุดท้ายที่เป็นขวัญใจของผมเป็นส่วนตัว ซึ่งมิได้หมายความว่ากาแฟตัวดังกล่าวจะดื่มลงไปแล้วอร่อยสุดๆ, หอมสุดๆ, นุ่มนวลหอมหวานสุดๆ แต่เค้ามีความไม่เหมือนใครอย่างสุดๆ กาแฟที่ว่ามาจากทวีปเอเซียเพื่อนบ้านเรานี่เอง สุมาตราเมนเดลลิง เกรด1 ทำไมผมถึงพูดเช่นนั้นต้องย้อนไปปี 2007 ช่วงที่เราทำเบลนด์ Rainbow Runner อยู่นั้นเราได้ชิม ( cupping ) กาแฟ big name หลายๆตัวจากที่คั่วเองและโรงคั่วที่มีชื่อเสียงในต่างประเทศเช่น Stumptown, Paradise Roaster, WBC 2007, intelligentsia coffee มีกาแฟดีๆมีหลายตัว
Sumatra Mandheling TP G1 ( TP~triple pick ) คัดมาแบบสวยๆเลย
แต่พอมาถึงการให้คะแนนผมมักจะให้คะแนนกาแฟสุมาตราค่อนข้างดี ซึ่งกาแฟสุมาตราเป็นกาแฟในหมวด Base-Note Coffers. กาแฟมีลักษณะเต็มบอดี้ดี, กลิ่นรสลึก, มีลักษณะกลิ่นรสทางสมุนไพรบางครั้งมีลักษณะกลิ่นคล้ายๆตอนฝนตกใหม่ๆ ( earthy notes ) มีโอกาสลองหาทานดูนะครับ
มาถึงตรงนี้หลายๆท่านที่ทานกาแฟมานานๆจะรู้ได้ด้วยตนเองว่ากาแฟที่ว่าเหมือนๆกันแท้จริงแล้วมันไม่เหมือน หากมองลึกลงไปอย่างละเอียดจะพบว่าการที่ร้านกาแฟใดร้านหนึ่งที่มีชื่อเสียงขึ้นมาได้โดยอาศัยโชคช่วยนับวันจะหาไม่ได้แล้ว เพียรต้องอาศัยความรู้จากการฟัง, การคิด, การเขียน, การอ่าน และที่สำคัญจะต้องศึกษาลงในแนวลึกเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆเพื่อให้เรากระจ่างในเรื่องสำคัญๆโดยประจักษ์ด้วยตนเอง มิใช่จากการจำ, การอ่าน แต่ฝึกฝนจนชำนาญและเชี่ยวชาญในเรื่องที่ตนเองทำ
” กาแฟก็เป็นเช่นเดียวกัน “