หากมาแหลมสิงห์ยังมีสถานที่สำคัญที่เราควรเรียนรู้เรื่องราวที่น่าสนใจสถานที่เหล่านี้แม้นว่าขนาดจะไม่ใหญ่โตความสวยงามก็มิอาจกล่าวได้ว่าสวยงามเลิศหรูหากแต่ว่ามองลึกลงไปในประวัติศาสตร์จะแลเห็นว่าเรื่องราวในอดีตซ่อนตัวอยู่ด้านในอันส่งผลต่อสยามประเทศมาจนทุกวันนี้
ตึกแดง
ตั้งอยู่ที่ตำบลปากน้ำแหลมสิงห์ อำเภอแหลมสิงห์ บริเวณท่าเรือแหลมสิงห์ อำเภอแหลมสิงห์ ใกล้กับคุกขี้ไก่ ห่างจากตัวเมืองจันทบุรี 30 กิโลเมตร สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2436 พร้อมกับคุกขี้ไก่ ลักษณะเป็นตึกชั้นเดียว สีแดง หลังคามุงกระเบื้อง สร้างด้วยอิฐถือปูน กว้าง 7 เมตร ยาว 32 เมตร เดิมทาสีแดง จึงเรียกว่า “ตึกแดง” ภายในแบ่งออกเป็น 5 ห้องมีประตูเปิดถึงกันหมด มีระเบียงทั้งสองข้างตามแนวยาว
ตึกแดงเป็นอาคารที่ฝรั่งเศสสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2436 หรือ ร.ศ. 112 ในบริเวณป้อมพิฆาตข้าศึก โดยรื้ออิฐจากป้อมมาสร้าง เพื่อใช้ตึกนี้เป็นกองรักษาการณ์ และที่พักของทหารที่รักษาปากน้ำแหลมสิงห์ ในครั้งนั้นฝรั่งเศสได้แผ่อิทธิพลครอบครองญวนและเขมร และหาเหตุรุกรานไทยโดยอ้างว่า ดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงคือ อาณาจักรลาวเกือบทั้งหมด รวมทั้งแคว้น 12 จุไท เคยเป็นของญวนและเขมรมาก่อน จึงถือโอกาสเข้ายึดครองทำสงครามสู้รบกับไทย ครั้งนั้นไทยต้องจ่ายค่าเสียหาย 4 ล้านบาท ก่อนจ่ายค่าเสียหาย ฝรั่งเศสจึงยึดจันทบุรีไว้ ตั้งแต่ พ.ศ.2436-พ.ศ.2446 จากวิกฤตการณ์ครั้งนั้นทำให้ไทยต้องสูญเสียดินแดนอาณาจักรลาวเกือบทั้งหมด รวมทั้ง 12 จุไทด้วย
รัชกาลที่ 5 ทรงดำเนินการคานอำนาจเช่น ทรงแสวงหามิตรประเทศที่เป็นมหาอำนาจการยุโรป เช่น รัสเซีย เยอรมนี เพื่อคานอำนาจกับฝรั่งเศส รวมทั้งการเสด็จเยือนประเทศฝรั่งเศส ซึ่งพระราชกรณียกิจของพระองค์ ได้สร้างความประทับใจแก่ฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก
ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 ตึกแดงได้รับการบูรณะเพื่อใช้เป็นอาคารห้องสมุดและศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนของอำเภอแหลมสิงห์ และเลิกใช้ไป จนกระทั่งในปัจจุบันตึกแดงเปิดให้ นักท่องเที่ยวเข้าชมโดยไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการเข้าชม
ตั้งอยู่ใกล้ตึกแดง ที่ตำบลปากน้ำแหลมสิงห์ ก่อนถึงท่าเทียบเรือ 1 กิโลเมตร สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2436 (ร.ศ. 112) เมื่อฝรั่งเศสได้เข้ายึดจันทบุรี ในกรณีพิพาทกันด้วยเรื่องดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ระหว่างนั้นกองทหารฝรั่งเศสประมาณ 600 คน แยกกันอยู่สองแห่ง แห่งแรกตั้งอยู่ที่เมืองจันทบุรี บริเวณที่เป็นค่ายทหารในปัจจุบัน อีกแห่งอยู่ที่ปากน้ำแหลมสิงห์ ฝรั่งเศสได้สร้างคุกขี้ไก่เพื่อใช้กักขังคนไทยที่ต่อต้านฝรั่งเศส มีลักษณะเป็นหอสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างยาวด้านละประมาณ 4.40 เมตร สูงประมาณ 7 เมตร มีช่องระบายอากาศอยู่สองแถว หลังคาโปร่ง เล่ากันว่าเป็นคุกที่ทรมานมาก เพราะชั้นบนใช้เป็นที่เลี้ยงไก่ ซึ่งจะถ่ายมูลราดศีรษะนักโทษที่ถูกคุมขังตลอดเวลา ทางเข้าเป็นประตูเตี้ย ๆ ระดับเอวเท่านั้น ใครจะเข้าไปคงต้องคลานเข้าไป
ข้อมูล การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
คุกขี้ไก่ ตั้งอยู่บริเวณชายหาดแหลมสิงห์ ใกล้ปากแม่น้ำจันทบุรี ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 30 กม. เป็นอาคารฝรั่งเศส สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2436 โดยทำลายป้อมพิฆาตข้าศึกลงและก่อสร้างตึกแดงทับไว้ เพื่อใช้เป็นกองรักษาการณ์ และเป็นที่พักนายทหารที่รักษาการณ์ปากน้ำแหลมสิงห์ ตึกแดงเป็นอาคารชั้นเดียว สร้างด้วยอิฐถือปูน กว้าง 7 เมตร ยาว 32 เมตร โครงหลังคาเป็นเหล็กรางรถไฟ หลังคากระเบื้องดินเผาสีแดง ประตูเปิดถึงกันหมด ปัจจุบันประกาศเป็นโบราณสถานของชาติในปี พ.ศ.2528
สะพานตากสินมหาราช (สะพานแหลมสิงห์) เป็นสะพานที่ทอดข้ามปากแม่น้ำจันทบุรีที่อำเภอแหลมสิงห์ เชื่อมต่อระหว่างตำบลปากน้ำแหลมสิงห์ และตำบลบางกะไชยที่อยู่ฝั่งตรงข้าม เป็นสะพานที่ยาวที่สุดในภาคตะวันออก มีความยาว ระยะทาง 1,060 เมตร
สะพานตากสินมหาราช (สะพานแหลมสิงห์) จัดได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของ “ถนนเฉลิมบูรพาชลทิต” ซึ่งเป็นถนนสายท่องเที่ยวเลียบชายฝั่งทะเลที่ยาวและงดงามที่สุดในภาคตะวันออก ที่เชื่อมต่อระหว่างชาดหาดต่างๆ และแหล่งท่องเที่ยวสำคัญชายทะเลของของจังหวัดจันทบุรี มีทัศนียภาพและจุดชมวิวที่สวยงาม
อ้างอิงข้อมูล http://www.chanthaboon.net/