ผู้ที่หันมาสนใจเรื่องเกี่ยวกับกาแฟจะต้องมีคำถามอยู่ในใจอยู่ตลอดเวลาว่า เราควรเดินทางไปทางไหนถึงจะไม่หลงทางเพราะกูรูในวงการกาแฟนั้นมีมากมายนัก คนนั้นว่าอย่างนั้นคนนี้ว่าอย่างนี้ไม่รู้จะเชื่อใครเรียนที่นั้นสอนแบบนึงในอินเตอร์เนทบอกไว้แบบนึงจนในบางครั้งเราก็ถามตัวเองว่าเราจะทำย้งไงกันดี ผมมีข้อแนะนำซักสามหรือสี่ข้อเผื่อว่าจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยจะทำให้ท่านที่สนใจเรื่องกาแฟไม่เสียเวลาไปมากโดยใช่เหตุและอย่างน้อยก็ร่นระยะเวลาเข้ามาได้อีก
1. หาที่เรียนที่มีหลักสูตรที่ละเอียดผู้สอนเป็นผู้มีความรู้ในระดับลึกพอสมควรจะให้พูดง่ายๆคือผู้สอนเป็นที่รู้จักในวงการกาแฟ ยิ่งเรียนน้อยคนยิ่งดีแพงหน่อยไม่เป็นไร
2. หาทริปท่องเที่ยวเชิงวิชาการเกี่ยวกับกาแฟโดยวิทยากรร่วมมีความรู้ในเรื่องกาแฟเป็นอย่างดี
3. หาตำราเกี่ยวกับกาแฟมาดูมาอ่านเป็นประจำให้รู้ในหลายๆแง่มุม หนังสือที่เป็นภาษาไทยจะได้ความรูทั่วๆไปแบบกว้างๆเกี่ยวกับกาแฟ, วิธีการชงกาแฟแบบต่างๆ, อุปกรณ์เกี่ยวกับกาแฟเช่นเครื่องชงเครื่องบดเป็นต้น แต่หากจะเรียนรู้เรื่องกาแฟในระดับลึกคงต้องเป็นหนังสือจากต่างประเทศเพราะเค้ามีวัฒนธรรมเกี่ยวกับกาแฟมายาวนานกว่าไทยมาก หรือถ้าไม่จำกัดเรื่องงบและเวลาไปหา course เรียนในต่างประเทศเลยชอบแนวไหนไปแนวนั้น
4. หาเพื่อนในวงการกาแฟที่มีความรู้หรือผู้ที่เราเชื่อว่ามีความรู้มากพอและยินดีพูดคุยด้วยความเป็นมิตรพูดอีกอย่างก็คือ กัลยาณมิตร นั่นเอง
หนังสือที่อยากจะแนะนำสำหรับผู้ที่สนใจเรื่องราวของกาแฟซึ่งเป็นหนังสือที่มีคุณค่ามากเพราะเกิดจากความตั้งใจและประสบการณ์อันยาวนาน รวมไปถึงยังเป็นลักษณะของงานวิจัยทั้งของไทยและต่างประเทศทำให้เนื่อหาเป็นเชิงวิชาการซึ่งแตกต่างจากหนังสือตามท้องตลาดในบางครั้งเป็นเรื่องกว้างๆ รวมไปถึงความเห็นต่างเฉพาะตน หนังสือดั่งกล่าวชื่อน่าฟังว่า “สรรสาระกาแฟ” เขียนโดยอาจารย์ พัชนี สุวรรณวิศลกิจ ( นักวิทยาศาสตร์เกษตร คณะเกษตรศษสตร์ มหาวิทยาวัยเชียงใหม่ )
แต่ที่สำคัญอยู่ที่ตัวเราเองหากมีความสนใจหรือแรงผลักดันจากภายในจะยิ่งทำให้เราแสวงหาความรู้มากขึ้น ที่กล่าวมาผมไม่ได้หมายถึงว่าจะต้องเดินสายอาชีพเกี่ยวกับกาแฟเท่านั้น ผู้ที่สนใจแบบเฉพาะตัวก็นับว่าน่าสนใจอยู่ไม่น้อยเพราะเรียนเท่าไหร่ก็รู้ไม่หมดซักกะที ดมเคยพูดกับผมว่าหากคิดจะมีที่ยืนบนเส้นทางสายกาแฟจะต้องเรียนรู้ตลอดเวลาเพราะไม่เช่นนั้นเราก็จะถูกผลัดหลงและหลุดออกจากเส้นทางได้โดยง่าย